Tuesday 15 June 2021

การเลือกขนาดกล่องใส่ของสำหรับแม่ค้าออนไลน์ทำอย่างไร

วัดขนาดสินค้าก่อน แล้วหาไซส์มาตรฐานตามโดยที่ไม่ใหญ่เกินไปเพื่อที่จะได้ไม่สิ้นเปลืองวัสดุกันกระแทกตามขนาดมาตรฐาน ด้านล่างนี้


ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ A ขนาด 14 X 20 X 6 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ B ขนาด 17 X 25 X 9 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ C ขนาด 20 X 30 X 11 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ D ขนาด 22 X 35 X 14 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ E ขนาด 24 X 40 X 17 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ F ขนาด 30 X 45 X 20 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ G ขนาด 31 X 36 X 26 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ H ขนาด 40 X 45 X 34 ซม.

ขนาดกล่องไปรษณีย์ เบอร์ I(หนา 5 ชั้น) ขนาด 45 X 55 X 40 ซม.



กล่องเคอรี่ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆก็จะเหมือนกันกับไซต์กล่องไปรษณีย์ที่มีไซต์เฉพาะของตัวเอง โดยที่กล่องไปรษณีย์จะมีไซต์หลักๆประมาณ 9 ไซต์เเละมีไซต์พิเศษเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆตามความต้องการของลูกค้าที่ต้องการไซต์ที่หลากหลายมากขึ้น โดยปัจจุบัน ไซต์ของกล่องไปรษณีย์จะมีทั้งหมดประมาณ 16 ไซต์ คือ

1. กล่องไปรษณีย์เบอร์ 00 ขนาด 8.5x11x6 cm. 

2. กล่องไปรษณีย์เบอร์ 0 ขนาด 11x17x6 cm. 

3. กล่องไปรษณีย์เบอร์ 0+4 ขนาด 11x17x10 cm.

4. กล่องไปรษณีย์เบอร์ A ขนาด 14x20x6 cm. 

5. กล่องไปรษณีย์เบอร์ AA ขนาด 13x17x7 cm. 

6. กล่องไปรษณีย์เบอร์ 2A ขนาด 14x20x12 cm. 

7. กล่องไปรษณีย์เบอร์ B ขนาด 17x25x9 cm. 

8. กล่องไปรษณีย์เบอร์ 2B ขนาด 17x25x18 cm. 

9. กล่องไปรษณีย์เบอร์ C ขนาด 20x30x11 cm. 

10. กล่องไปรษณีย์เบอร์ CD ขนาด 15x15x15 cm. 

11. กล่องไปรษณีย์เบอร์ D ขนาด 22x35x14 cm. 

12. กล่องไปรษณีย์เบอร์ E ขนาด 24x40x17 cm. 

13. กล่องไปรษณีย์เบอร์ Fเล็ก ขนาด 31x36x13 cm. 

14. กล่องไปรษณีย์เบอร์ F ขนาด 30x45x20 cm. 

15. กล่องไปรษณีย์เบอร์ G ขนาด 31x36x26 cm. 

16. กล่องไปรษณีย์เบอร์ H ขนาด 41x45x35 cm. 

 

ส่วนกล่องเคอรี่นั้นจะมีไซต์หลักๆ 6 ไซต์คือ

1. กล่อง kerry ขนาด mini ขนาด 14x20x6 cm. 

2. กล่อง kerry ขนาด S ขนาด 20x30x11 cm. 

3. กล่อง kerry ขนาด S+ ขนาด 24x37x14 cm. 

4. กล่อง kerry ขนาด M ขนาด 27x43x20 cm. 

5. กล่อง kerry ขนาด M+ ขนาด 35x45x25 cm.

6. กล่อง kerry ขนาด L ขนาด 40x50x30 cm.  

ภาพด้านล่างนี้จะเป็นตัวอย่างไซต์กล่องเคอรี่ไม่พิมพ์ลายของไซต์ M, M+, เเละ L ที่ทางโรงงานผลิตขึ้นมาครับ
 

โดยอัตราการคิดค่าบริการของทาง Kerry นั้นจะเเบ่งตามไซต์คือ

กล่องพัสดุขนาดเล็ก(S) (กว้าง+ยาว+สูง ไม่เกิน 60 ซม.) 

กล่องพัสดุขนาดเล็ก(S+) (กว้าง+ยาว+สูง ไม่เกิน 75 ซม.) 

กล่องพัสดุขนาดกลาง (M) (กว้าง+ยาว+สูง ไม่เกิน 90 ซม.)

กล่องพัสดุขนาดกลาง (M+) (กว้าง+ยาว+สูง ไม่เกิน 105 ซม.)

กล่องพัสดุขนาดใหญ่ (L) (กว้าง+ยาว+สูง ไม่เกิน 120 ซม.)

กล่องพัสดุขนาดใหญ่พิเศษ (XL) (กว้าง+ยาว+สูง ไม่เกิน 150 ซม.) 

Over size (กว้าง+ยาว+สูง เกิน 150 ซม.) 

หลังจากนั้นก็จะเป็นวิธีการห่อพัสดุ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุกันกระแทก หรือ ห่อบับเบิ้ลเพื่อรักษาสินค้าระหว่างส่ง การห่อสินค้า สามารถดูได้ที่นี่

การห่อที่ดีนั้น อย่าใช้กระดาษลังมือสอง หรือซ้อนลังเป็นอันขาด นอกจากจะไม่เป็นการป้องกันสินค้าเสียหายแล้ว ยังผิดกฎการส่งของบางเจ้าได้ 

เมื่อห่อเสร็จควรทดสอบด้วยการเขย่าๆ ดูว่าของภายในเคลื่อนที่ไหม หรือว่า มีเสียงขลุกขลิกจากข้างในไหม


แนะนำการบรรจุหีบห่อของ Shopee


เครดิต

https://fastship.co/parcels-sizes-for-shipping/

https://www.siampackaging.co.th/content/20796/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94-

Sunday 13 June 2021

สิ่งเริ่มต้นของคนเริ่มแพคของขายออนไลน์ควรรู้

หากคุณเป็นพ่อค้า แม่ค้า มนุษย์ออฟฟิศ ที่ทำธุรกิจออนไลน์ และมีความจำเป็นจะต้องส่งของผ่านทางไปรษณีย์อยู่บ่อยๆ ไม่ว่าสิ่งของที่อยู่ด้านในนั้นจะเป็นวัสดุแบบไหน หากอ่านคู่มือทั้งหมดนี้ไว้ก็อุ่นใจแน่นอน เพราะเราได้รวบรวมเคล็ดลับทั้งหมด 16 ข้อ ที่ได้กวาดเอาเทคนิคในการส่งพัสดุทั้งหมดรวมมาไว้ให้ในบทความนี้บทความเดียวเท่านั้น จากที่ใครหลายๆคนอาจจะกังวลใจไป ส่งพัสดุไปแล้วจะต้องให้คุกกี้ทำนายกันมั้ย..ว่าของที่ส่งไปผู้รับจะได้รับถึงมือในสภาพปลอดภัย 100% แน่นอน มาถึงตรงนี้แล้วก็ขอให้ทุกคนปักหมุดไว้..แล้วแชร์วนไป คราวหน้าจะส่งพัสดุรับรอง ผู้รับจะต้องร้องโอ้โห Professional ที่แท้ทรู!

  1. บับเบิ้ลดีต่อใจ ใช้รองกระแทกวนไป อุปกรณ์พื้นฐานยอดนิยมที่ผู้ที่คลุกคลีกับวงการส่งไปรษณีย์ต้องรู้! เพราะ “แผ่นรองกระแทก” หรือ “บับเบิ้ล” ไอเท็มขวัญใจเด็กๆ ที่ชอบเอาไว้บีบเล่นนั้น ไม่ได้มีดีแค่เป็นของเล่นอย่างเดียว แต่คุณสมบัติหลักๆของบับเบิ้ลนั้นจะช่วยดูดซับแรงกระแทกเมื่อสิ่งของทั้งหลายในกล่องเกิดการเขย่า หรือการกระแทกไปมา ทำให้คุณอุ่นใจไปอีกสเต็ปว่าของที่อยู่ภายในกล่องนั้นมีเกราะป้องกันความเสี่ยงที่ของด้านในจะเสียหายให้แล้ว เพราะฉะนั้น ก่อนจะส่งพัสดุที่มีความเสี่ยงว่าหากถูกกระแทก หรือถูกโยนแล้วจะเสียหาย ให้ #ห่อบับเบิ้ลวนไป ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ บับเบิ้ลมีน้ำหนักเบา ถึงแม้จะห่อซัก 2-3 รอบ น้ำหนักก็ไม่ได้เพิ่มอะไรมาก ค่าส่งไปรษณีย์ก็ไม่ได้พุ่งพรวดอะไรไปมากด้วยเช่นกันครับ 
  2. เลือกขนาดให้ถูกไซส์..อุ่นใจกว่า การเลือกขนาดกล่องให้ถูกไซส์กับตัวพัสดุนั้น นอกจากจะทำให้การห่อพัสดุนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และว่องไว ยังเป็นการลดความเสียหายของพัสดุด้านในอีกวิธีนึงอีกด้วย ทริคง่ายๆหากไปแพคของที่ไปรษณีย์หรือจะเป็นขนส่งเอกชน ให้ลองเทียบไซส์จากของที่เรามีกับกล่องที่มีให้เราเลือก หากไม่แน่ใจ แนะนำว่าลองวางพัสดุแล้วห่อหุ้มดูว่าเหลือที่ว่างเยอะมั้ย หากที่ว่างยังเหลือมากขนาดที่เราลองเขย่าแล้วยังมี Space อีกเพียบ แนะนำให้เปลี่ยนขนาดกล่องให้ไว เพราะว่ายิ่งมี Space เพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงที่สิ่งของนั้นจะกระแทกไปมาก็เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย อีกวิธีคือการใช้บริการรับผลิตกล่อง ให้ขนาดของกล่องไปรษณีย์พอดีกับขนาดพัสดุของเรา วิธีนี้นอกจะจะช่วยลดขนาดที่ว่างภายในกล่องที่ไม่จำเป็นแล้ว อาจจะช่วยประหยัดค่าส่งสินค้าได้ด้วยเนื่องจากบริษัทขนส่งเอกชนหลายๆที่ คิดค่าจัดส่งตามขนาดกล่อง กว้าง + ยาว + สูง นั่นเองครับ 
  3. มาตรฐานของกล่องเป็นอย่างไร..ไปเช็คกัน! สายหวั่นไหวกับของถูก อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจไป หากจะส่งของไปให้ใครก็ตามยิ่งเป็นในระยะทางไกลมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานของกล่องมากขึ้นเท่านั้น นั่นเป็นเพราะการเลือกกล่องพัสดุ ยิ่งมีราคามากขึ้นเท่าไหร่ กล่องก็จะยิ่งมีมาตรฐานดีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น เรื่องมาตรฐานของกล่องจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไป อย่าเลือกแค่มีเกณฑ์การตัดสินที่ว่า “ของมันถูก” คุณภาพที่คุณได้ก็จะถูกตามไปด้วย แต่ความเสียหายที่ได้มา อาจจะต้องเสียเงินเพิ่มแบบไม่คุ้มค่าด้วย หากอยากได้กล่องดีมีมาตรฐาน อย่าลืมมองหา Supplier รับผลิตกล่องที่มีมาตรฐาน ไว้ใจได้กันด้วยนะครับ 
  4. เลือกกล่องใหม่ไฉไลกว่ารียูส เข้าใจว่าเรื่องของการรักษ์โลกมันต้องมา แต่หากคุณเป็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์มืออาชีพแล้ว เราแนะนำให้ใช้กล่องใหม่จะไฉไลกว่า คุณจะได้เครดิต ภาพลักษณ์ที่ดีว่าสั่งของจากร้านนี้ใช้กล่องใหม่ได้คุณภาพนะ นอกจากนี้ที่สำคัญคือ 70% นั้น คือ ตัวเลขของการรองรับการกระแทกหากใช้พัสดุใหม่ที่ไร้รอยแตก รอยพับ เพราะฉะนั้น หากมีโอกาสเลือก ให้เลือกกล่องใหม่เพื่อความคุ้มค่า พัสดุถึงทันใจไม่ต้องมานั่งกังวลกับค่าเสียหายภายหลังนะครับ 
  5. หากใช้กล่องรียูสก็ต้องให้โฟมช่วย หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กล่องรียูสส่งพัสดุ โดยเฉพาะในเคสที่สิ่งของในกล่องมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ แนะนำให้ใช้โฟมนำมารองไว้ที่มุมต่างๆ ของกล่องพัสดุ เพราะจะเป็นการรองรับการกระแทกได้เป็นอย่างดี ทำให้พัสดุที่ส่งไปมีความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง 
  6. เลือกประเภทกล่องลูกฟูกที่เหมาะสม เพราะการเลือกประเภทกล่องลูกฟูกที่เหมาะสมนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกๆที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากกล่องพัสดุแต่ละกล่องนั้นใช้กระดาษที่ไม่เหมือนกัน ความหนา จำนวนชั้นก็ต่างกัน เช่นเดียวกันกับคุณสมบัติการกันกระแทก หรือความอยู่ทน อยู่นานที่ถูกออกแบบมาอย่างแตกต่างกัน เช่น การบรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้กล่องที่มีความหนา 5 ชั้นแทน เป็นต้น หากคุณไม่แน่ใจ เราแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือจะปรึกษาเราดูก่อนก็ได้ครับว่าสินค้า น้ำหนักและขนาดเท่านี้ ควรจะใช้กล่องประเภทไหน ถึงจะบรรจุสินค้าได้อย่างเหมาะสมที่สุดครับ 
  7. แพ็คให้เหมาะกับสภาพฝนฟ้าอากาศ บางคนอาจจะงงว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แต่จะบอกว่า สภาพอากาศเป็นอีกปัจจัยสำคัญถ้าคิดจะส่งพัสดุ ลองคิดภาพตามดูง่ายๆว่า ต่อให้แพ็คของอย่างแน่นหนามากแค่ไหน แต่ดันต้องส่งของในช่วงหน้าฝน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เราจะสามารถทำให้พัสดุด้านในนั้นปลอดภัยได้อย่างไรบ้าง หากพัสดุเปียกน้ำแล้วจะเสียหายมากเท่าไหร่ โดยเฉพาะในเคสที่พัสดุข้างในเป็นกระดาษ หรือวัสดุที่เปียกชื้นแล้วจะสร้างความเสียหายมาให้ แนะนำให้ใส่พลาสติกกันไว้อีกชั้น..จะได้อุ่นใจมากขึ้นกับการส่งพัสดุฝ่าหน้าฝนไปได้ชิลๆครับ 
  8. จัดการทิศทางและพื้นที่ให้ดี “การจัดการที่ดี” ใครว่าไม่สำคัญ เพราะการจัดการนั้นเอามาใช้ได้ทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการส่งพัสดุ ในกรณีที่มีการส่งพัสดุมากกว่า 1 ชิ้นขึ้นไปในกล่องเดียว ควรจะจัดวางเผื่อการกระแทก การชนกันของวัตถุด้วย ลองนึกดูจากกรณีง่ายๆว่าถ้าวางของไปผิดทิศทาง สิ่งของที่อยู่ในนั้นก็อาจจะทิ่มทะลุกัน หรือกระแทกกันจนแตกทำให้ความเสียหายเพิ่มคูณ 2 ได้ หรือหากต้องส่งพัสดุที่มีน้ำหนักมากหลายชิ้น ก็ควรวางกระจายน้ำหนักให้ดี ไม่ให้จุดใดจุดหนึ่งของกล่องต้องรับน้ำหนักมากเกินไป และควรใส่ของที่มีน้ำหนักเยอะไว้ด้านล่างของที่มีน้ำหนักเบา เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของด้านในทับกันเสียหายด้วยนะครับ 
  9. บางครั้งอาจจะพึ่งผู้เชี่ยวชาญบ้าง หากจำเป็นต้องส่งพัสดุที่สำคัญ แต่ประสบการณ์ส่งของดัน..มีไม่มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของพัสดุ เราควรจะต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นพนักงานของทางไปรษณีย์ หรือบริษัทที่รับส่งพัสดุโดยตรงเลยก็ได้ ดังนั้น อย่าลืมว่าหากเป็นครั้งแรกๆของคุณtoและไม่อยากพลาด แนะนำว่าให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า เพื่อให้มั่นใจได้ว่า พัสดุที่จะส่งไปนี้ไม่ได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน 
  10. ติดป้าย FRAGILE ก็ปลอดภัยไปอีกระดับ หากจะต้องส่งพัสดุที่มีความเสี่ยงที่โยน กระแทกแล้วจะทำให้พัสดุเสียหาย หรือแตกกระจายได้ แนะนำให้ติดป้าย FRAGILE ที่ทางไปรษณีย์หรือบริษัทเอกชนมักจะมีให้ในบางที่ ตรงนี้ก็จะเพิ่มเลเวลความระมัดระวังของผู้ส่งของให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเห็นสติกเกอร์ที่บอกเป็นนัยๆว่าของแตกหักง่ายนะ ห้ามโยนโดยเด็ดขาด หรือหากไม่มีจริงๆก็อาจจะเขียนข้อความตัวใหญ่ๆ ด้วยภาษาไพเราะๆ ให้ง่ายต่อการมองเห็น พนักงานที่ส่งพัสดุเห็นก็จะได้ไม่โยน ไม่กระแทกกล่องไปรษณีย์ของเรา แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าต่อให้ติดสติ๊กเกอร์หรือเขียนอะไรไว้ก็แล้วแต่ บางครั้งก็อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากพนังงาน เราจึงต้องใช้เทคนิคอื่นๆประกอบด้วย เพื่อให้พัสดุเราปลอดภัยจนถึงมือผู้รับนะครับ 
  11. ตรวจสอบความแน่นหนาด้วยการเขย่ากล่อง อีกวิธีง่ายๆที่ใช้ในการตรวจสอบความแน่นหนาของพัสดุ จะได้รู้ว่าเราแพ็คดีพอหรือยัง แน่นหนาพอที่จะรองรับการกระแทกได้หรือยัง ในกรณีนี้หากตรวจสอบความแน่นหนาด้วยการเขย่ากล่องแล้ว ของด้านในยังเลื่อนไปมาได้อยู่ แนะนำให้เปลี่ยนไซส์กล่องกระดาษ หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือโฟมกันกระแทกยัดไว้ในช่องว่างที่มีในตัวกล่อง เพื่อเพิ่มเลเวลความมั่นใจในการส่งไปอีกระดับนะครับ 
  12. อุปกรณ์แหลมคมมีโฟมกันไว้ได้ใจผู้รับ หากมีความจำเป็นที่จะต้องส่งอุปกรณ์แหลมคม เช่น กรรไกร มีด กรรไกรตัดกิ่ง จอบ เสียม ที่มีคม แนะนำให้ใส่โฟมกันกระแทกไว้ที่ตรงปลายแหลมคมเป็นลำดับแรก ต่อจากนั้นอาจจะหุ้มต่อด้วยบับเบิ้ล กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือจะเป็นพลาสติกกันกระแทกในรูปแบบต่างๆให้เรียบร้อย เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับพัสดุไปอีกระดับ เพราะอุปกรณ์แหลมคมไม่เข้าใครออกใคร หากจะต้องเคลื่อนย้าย หรือถูกกระแทกนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะไปทิ่มแทงกล่องให้ขาดได้ง่ายๆด้วยนะครับ 
  13. ห่อถุงพลาสติกอีกชั้นสำหรับส่งของเหลว หากต้องส่งสินค้าที่เป็นของเหลว เช่น น้ำหอม ครีม เจลต่างๆ ที่บรรจุภัณฑ์มาในรูปแบบขวด และเสี่ยงต่อการโดนกระแทกและแตกหากเกิดการโยน ควรจะใช้เทปติดตรงฝาหรือจุกไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ฝาหรือจุกหลุดออกมาระหว่างขนส่ง ห่อด้วยบับเบิ้ล แล้วใส่ถุงพลาสติกที่มีซิปล็อคทับแยกชิ้นไปเลย เพื่อความปลอดภัย เพราะหากเกิดการแตกระหว่างขนส่ง พัสดุที่ห่อแยกชิ้นจะทำให้การแตกกระจายของของเหลวนั้น ยังรั่วซึมอยู่ในถุงพลาสติกที่ห่อหุ้ม จะได้ไม่ปนกันกับของเหลวชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสียหายให้ทวียิ่งขึ้นไปได้ 
  14. ติดเทปกาวบนกล่องรูปตัว H เทคนิคนี้จะใช้สำหรับกล่องฝาชน วิธีการคือ ให้แปะเทปกาวขั้นแรกตรงช่องกลางระหว่างกล่อง ที่ฝาสองด้านมาบรรจบกัน ขั้นตอนต่อไปก็คือ ให้ใช้เทปกาวแปะตรงขอบกล่องพัสดุทั้งสองด้านโดยแปะยาวลงมา เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้น เราก็ได้ให้ความมั่นคง แน่นหนาแก่พัสดุไปอีกระดับ แต่เทปกาวขอให้ใช้เป็นเทปกาวที่หนา และใหญ่ สามารถครอบคลุมพื้นที่ของพัสดุให้ยึดติดกันได้ด้วยนะครับ 
  15. ซื้อประกันลดความเสี่ยง หากจะต้องส่งพัสดุที่เสี่ยงต่อการแตกหัก เสียหาย นอกจากวิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว เรายังสามารถลดความเสี่ยงค่าเสียหายได้ด้วยการซื้อวงเงินการรับประกันเพิ่มเติม เช่น การส่งทาง EMS สามารถซื้อประกันเพิ่มเติมได้สูงสุดถึง 50,000 บาท ซึ่งผู้ที่เป็นตัวกลางส่งของให้ มักจะมีเงื่อนไขในการรับผิดชอบความเสียหายของพัสดุและการซื้อประกันเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทจะกำหนด ให้ลองศึกษาเงื่อนไขและข้อตกลงดูดีๆก่อนซื้อประกันนะครับ 
  16. ใส่เบอร์โทรทั้งสองฝ่ายไว้ ประสานงานได้ไวขึ้น ไม่ว่าคุณจะส่งพัสดุกับไปรษณีย์ หรือกับบริษัทเอกชน สิ่งเล็กน้อยที่คุณไม่ควรจะมองข้ามไปนั่นก็คือ การใส่เบอร์โทรศัพท์ของผู้รับ และผู้ส่ง ที่ปัจจุบันมักจะมีช่องให้กรอกเบอร์โทรศัพท์อยู่แล้ว หากมีเบอร์สำรองก็ใส่ไปด้วยก็ดีครับ อย่าลืมตรวจเช็คให้ดีว่าต้องเป็นเบอร์ที่สามารถติดต่อได้นะครับ หากมีเหตุขัดข้องอะไร หรือคนส่งพัสดุที่ไปถึงที่แล้ว จะได้สามารถติดต่อผู้รับได้ทันใจ ตรงนี้ก็จะทำให้การส่งพัสดุมีความราบรื่นมากขึ้นนะครับ ทั้ง 16 ข้อนี้ถือเป็นคัมภีร์ฉบับขั้นสุดยอด หากทำตามข้อปฏิบัติพวกนี้ได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยง ทำให้สินค้าที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชนนั้นจะไปถึงมือผู้รับได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น หากคุณกำลังมองหาผู้รับผลิตกล่องไปรษณีย์ที่มีมาตรฐาน หรือต้องการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์บนกล่องไปรษณีย์ อย่าลืมลองมาปรึกษา ... ดูก่อนนะครับ  

เงื่อนไขการรับประกัน สินค้า Kerry และ Flash และ Shopee Express


เครดิต

https://www.locopack.co/th/articles/10 
https://www.flashexpress.co.th/pact/company-agreement/ 
https://th.kerryexpress.com/th/terms-and-conditions-of-carriage
https://shopee.co.th/docs/6760

Saturday 12 June 2021

รวบรวมเทคนิการขายของที่ทำให้รุ่งระยะยาว

รวบรวมเทคนิการขายของ 1. สินค้าราคาขาย 500-1500 ซื้อง่ายขายคล่อง ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญในเรื่องของราคา จากประสบการณ์การขายของในราคาระดับนี้มันทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของได้ง่ายที่สุด ส่วนจะซื้อมากน้อยเพิ่มขึ้นเท่าไหร่อยู่ที่ความสามารถของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ในการพูดคุยกับลูกค้า (และแน่นอนการพูดคุยคุณต้องมีวาทศิลป์ผ่านหน้าจองให้ดีที่สุด จริงๆมันง่ายกว่าคุยต่อหน้าเยอะเลย ลองไปฝึกกันดูนะครับ) 2. ส่ง 1-2 วัน ความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดนะครับ ยิ่งได้รับเร็วสินค้าดี รับรองลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำแน่นอนเพราะการซื้อครั้งแรกอาจจะเป็นการทดลองสั่งสินค้าดูก่อน หากเราส่งสินค้าจริง สินค้าดี รับรองมีซ้ำ 3. ขนาดกล่องไม่เกินกล่องไปรษณีย์ มันจะดีนะครับ หากสินค้าคุณมีน้ำหนักที่น้อย มันช่วยให้คุณและลูกค้าคุณประหยัดค่าส่งได้เป็นอย่างดี ลองคิดดูสิหากคุณบวกค่าส่งไปตั้ง 200 บาท นั่นแสดงว่ามันทำให้ลูกค้าบอกว่าค่าส่งแพงจังค่ะ 4. สินค้า re-order ได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี สินค้าเก่าขายลูกค้าใหม่ สินค้าใหม่ขายลูกค้าเก่า เคล็ดลับความสำเร็จอีกประการคือ มันจะสบายมากๆหากลูกค้าเก่าเราสั่งซื้อสินค้าเราทุกเดือน เพราะการสะสมลูกค้านั่นหมายความว่าหลังจาก 1 เดือนที่คุณเริ่มขายของ เดือนถัดไปคุณจะออกแรงในการทำงานลดลงไปอีก 20 % เพราะฐานลูกค้าเก่าที่คุณมี 5. นำคู่แข่ง 1 ก้าว ใส่นวัตกรรมเข้าไป หรือเขียนเรื่องราวให้เข้ากับสินค้าที่มีอยู่ การที่เราพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพ คู่แข่งตามไม่ทัน หรือสินค้าเรามีความเชื่อในเรื่องราวที่เป็นอยู่ นั่นล่ะความรวยอยู่ตรงหน้าคุณแล้ว 6. ต้องการแหล่งผลิต หรือนำเข้ามา ยากมาก มันเป็นการตัดคู่แข่งไปอย่างง่ายดาย หากเราเริ่มต้นได้ยากเท่าไหร่ จำไว้นะครับว่า สิ่งที่เราหามาได้ง่ายๆก็มีคนเลียนแบบเราได้ง่ายๆ 7. ข้อนี้โครตสำคัญเลย (ผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกนะครับ) คือ ราคาขายต่ำกว่าท้องตลาด 30% และบวกกำไรจากต้นทุนต้อได้ขั้นต่ำ 4.5 เท่า จัดโปรโมชั่นส่วนลดต่างๆแล้วเหลือ 3 เท่า และถ้าจะขายส่งต้องได้ 1.5-2 เท่า เช่น ต้นทุน 100 ขาย 450+ จัดโปรโมชั่นเหลือ 300 ซึ่งเป็นราคาที่ขายที่จะต้องต่ำกว่าคู่แข่งอื่น 30% (คนอื่นขาย 700บาท เราอาจจะต้องขายได้ 450-490 บาท) ขายส่ง 150-200 บาท 8. อยู่เฉยๆ จะต้องขายได้ โดยที่ไม่ต้องทำอะไร (ยังโฆษณาอยู่แต่ไม่ได้ยุ่งอะไร) ที่สำคัญคือ แม้ว่าคุณจะไปทำงานอย่างอื่นหรือมีธุรกิจส่วนตัวอื่นๆ สินค้าจะยังต้องขายได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่ว่าจะเป็นการบอกต่อ หรือ ใช้เงินในการโฆษณา หรือใช้ระบบออนไลน์ตัวอื่นมาสร้างยอดขายให้ได้ ฝากเทคนิคสำคัญพร้อมด้วยคุณธรรมอีกนิดหน่อยนะครับ • ไม่กดต้นทุนสินค้าเราให้ต่ำเกินไป ไม่ว่าเราจะผลิตเองหรือนำเข้ามาขาย ให้มีราคาที่พอดีที่เขาและเราอยู่ได้โดยที่เราสามารถทำงานร่วมกันระยะยาว เพราะเมื่อได้ใจเขา เขาก็พร้อมที่จะช่วยเราในยามที่เราคับขันเหมือนกัน • คัดเลือกการตลาดการขายที่เหมาะสมกับสินค้านั้น หาให้เจอ ช่องทางการขายไหนสำคัญกับเราที่สุดเพราะไม่ว่าจะทุกช่องทางการขาย ยังไงเราก็ได้กำไร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นตลาดอะไร ก้อจะปลอดภัย เพราะมี กำไรที่ 4.5 เท่าอยู่แล้ว • การสร้างภาพสินค้า สร้าง story, content ที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เรื่องนี้สำคัญนะครับ ขายของออนไลน์ ลูกค้าเค้าไม่ได้มาคุยกับคุณตัวต่อตัว ดังนั้น มโนภาพสินค้าที่ดีมีคุณ (แต่ต้องเป็นความจริงนะครับ ให้เค้าได้อ่านได้ตัดสินใจ ยิ่งมีรีวิวที่ดี ทำให้เกิดความเชื่อมั่นครับ) ปล.ฝากอีกข้อในการปิดการขายทางออนไลน์ ภาษาในการคุยสำคัญมาก – ถ่อมตัว – ไม่เถียง – เพราะสุดท้ายแค่ 8 ข้อ ก้อแทบไม่ต้องคุยอะไรมากแล้วเพราะสินค้ามันจะขายได้ด้วยตัวมันเอง แค่รับออเดอร์และส่งสินค้าให้ทันเป็นพอครับ อ้างอิง https://blog.sellsuki.co.th/rich-in-2-months/