Saturday 22 February 2020

ท่าออกกำลังกายเพื่อปรับบุคลิกภาพของวิทยากร




บุคลิกภาพสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ ทั้งทางกายและทางวาจา การแสดงบุคลิกภาพที่ดีทางกายนั้น เกี่ยวข้องกับท่าทางต่าง ๆ ตั้งแต่ท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน และท่าทำงาน
เรามักพบว่าผู้ที่หมดหวัง ผิดหวัง หรือมีอาการซึมเศร้า จะมีท่าทางที่พ่ายแพ้ต่อแรงโน้มถ่วงของโลก ทุกส่วนของร่างกายจะงอลง คอจะตกไหล่จะห่อเข้า หลังจะค่อม ข้อสะโพกจะงอ หัวเข่างอ ทั้งนี้ถ้ามองไปที่ใบหน้ายังอาจเห็นคิ้วดก มุมตาตก เกิดรอยตีนกามากขึ้น มุมปากตกเหมือนจะร้องไห้
สิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะท่าทางที่อยู่ในท่างอลงนี้ไม่เพียงแต่ทำให้บุคลิกภาพของตนเองเสียไป คนที่พบเห็นไม่ชื่นชม และหมดความเชื่อถือให้ตัวเราแล้ว ยังเป็นต้นเหตุที่สำคัญของอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดข้อต่อ

เนื่องจากข้อต่อที่งอลงจะรับน้ำหนักของร่างกายมากกว่าข้อต่อที่เหยียดตรง ทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของข้อต่อเร็วขึ้น จึงเกิดอาการปวดตามข้อต่อ และกล้ามเนื้อต้องทำงานมาก ถ้าข้อต่อไม่เหยียดตรง ต้องเกร็งตัวตลอดเวลา จะทำให้เกิดอาการปวดล้าตามกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อต่อนั้นด้วย
การเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการเริ่มต้นทำสิ่งต่าง ๆ แม้กระทั่งการเริ่มต้นออกกำลังกาย ดังนั้นก่อนออกกำลังกายทุกชนิด ไม่ว่าจะเล่นกีฬา เต้นแอโรบิก หรือบริหารให้มีทรวดทรง สุขภาพดี ย่อมต้องมีบุคลิกภาพที่ดีประกอบด้วยเสมอ จึงเสนอวิธีการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ทำได้ง่าย ๆ ในทุกสถานที่ 5 วิธี ด้วยกันคือ
การบริหารเพื่อการนี้ เริ่มต้นควรจะอยู่หน้ากระจกเงาหรือไปให้ผู้อื่น ช่วยสังเกตให้ เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจไม่ทราบว่าตนเองทำได้ถูกต้องหรือยัง จนกว่าจะฝึกฝนและเกิดความมั่นใจขึ้นจึงทำด้วยตนเอง และไม่ต้องมองในกระจกอีก กล่าวคือ จะต้องทำการบริหารจนเกิดเป็นอุปนิสัยที่ดี ตราบนั้นเราจะสามารถปรากฎกาย ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องคอยเป็นห่วงในท่าทางของตนเอง
การนั่งหรือการยืนที่ดีจำเป็นต้องให้ทุกส่วนของร่างกายอยู่ในแนวตรงเสมอ คือ ถ้ามองจากด้านหลัง กึ่งกลางของศีรษะ หลัง บั้นเอว ช่วงสะโพก และกึ่งกลางของขาทั้ง 2 ข้าง จะต้องอยู่ในเส้นตรง ทำให้ซีกซ้าย และซีกขวาสมดุลกัน และถ้ามองดูจากด้านข้าง เส้นตรงสมมตินี้ต้องผ่านหน้าหู กึ่งกลางหัวไหล่ กึ่งกลางข้อสะโพก ด้าน หน้าข้อเข่าแต่ด้านหลังของกระดูกสะบ้าและด้านหน้าของข้อเท้า

การบริหารเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพจึงมุ่งหวังที่จะให้ร่างกายสมดุล และให้แนวดิ่งผ่านส่วนต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเบื้องต้นนี้

กล้ามเนื้อหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ พร้อมตัวอย่างท่าออกกำลังกาย
1.หลังส่วนบน (Upper back)
      การฝึกหลังส่วนบนนอกจากเรื่องของความสวยงาม ยังช่วยแก้อาการไหล่ห่อได้อีกด้วย คนที่มีไหล่ห่อควรฝึกกล้ามเนื้อส่วนนี้ให้มาก


2.Lower back
      สำหรับคนเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมและหลังค่อม ล้วนมีปัญหากับกล้ามเนื้อมัดนี้ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง พอเวลาเรานั่งทำงานนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้

3.Abs
      เพราะกล้ามเนื้อแกนกลางมีส่วนอย่างยิ่งในการควบคุมการทำงานของทุกส่วนในร่างกายนี้เอง ทำให้การออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อแกนกลาง จึงส่งผลโดยตรงต่อทุกส่วนของร่างกาย ทั้งรยางค์แขนและขา อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการเผาผลาญพลังงานในทุกๆส่วนนั่นเอง

4.Hamstring
      ต้นขาด้านหลัง หรือ กลุ่มแฮมสตริงนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหลายมัดที่ทำหน้าที่สอดคล้องกันในการ งอต้นขาเข้า และ ยังช่วยรองรับการเหยียดลำตัวขึ้นจากการพับลำตัวด้วย กล้ามเนื้อแฮมสตริงนั้นมีกล้ามเนื้อ ก้น และ น่องเป็นกล้ามเนื้อรองหลักๆที่คอยรองรับการออกแรงในมุมต่างๆกัน
สามารถบริหารท่าตามรูปภาพได้
การฝึกการทรงตัวเพื่อความสง่างาม
อย่างเช่นการฝึกการทรงตัวอย่าง Bodybalance

BODYBALANCE 
    คือ การออกกำลังกายแบบโยคะ พิลาทิส ไทชิ เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเป็นการยืดคลายกล้ามเนื้อ ทำให้จิตใจคุณสงบ เป็นการออกกำลังกาย โดยการกำหนดลมหายใจ และทำสมาธิ โดยจดจ่อในการยืดกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวร่างกาย และหยุดในแต่ละท่าที่สร้างมาเพื่อเป็นการออกกำลังกาย โดยใช้หลักฮอลิสติก สมาธิมากที่สุด เพื่อให้ร่างกายเกิดการผ่อนคลายทั้งกายและใจ



การเต้นเพื่อฝึกการแสดงออก



ประโยชน์ของการเต้นมีดังนี้
1.ช่วยให้ความจำดีขึ้น
2.คลายเครียด
3.ลดอาการซึมเศร้า
4.ดีต่อหัวใจ
5.ช่วยลดน้ำหนัก
6.ทรงตัวดีขึ้น
7.เพิ่มพลังงาน 
8.ได้มิตรภาพ
9.ทำให้กล้าแสดงออก





No comments:

Post a Comment